“กรดอะมิโน” ในโปรตีน สารอาหารที่จำเป็นและสำคัญมากต่อผู้สูงอายุ

จากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 20-30 มีแนวโน้มได้รับสารอาหารพลังงานไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกรดอะมิโนในโปรตีนที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในภาวะอ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรง อีกทั้งยังทำให้น้ำหนักและมวลกล้ามเนื้อลดลง รวมไปถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง เพิ่มภาวะกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) และภาวะเปราะบาง (Frailty) ซึ่งเพิ่มโอกาสในการหกล้มทำให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกขาหัก ระบบภูมิคุ้มกันทำงานแย่ลง และหากเป็นผู้ป่วยอยู่ก็เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ และระยะเวลาพักฟื้นมากกว่าเดิมอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากการ ‘ขาดโปรตีน’ หรือรับประทานอาหารที่มีโปรตีนไม่เพียงพอ

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะขาดโปรตีน
เราควรเข้าใจถึงสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะโปรตีน ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาในการเคี้ยว หรือกลืนอาหาร ที่มีข้อจำกัดในอาหารบางประเภท ทำให้ความอยากอาหารของผู้สูงอายุลดลง อีกทั้งพบว่าความสามารถในการย่อยและดูดซึมโปรตีนของผู้สูงอายุก็ลดลง ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะได้รับโปรตีนไม่ครบถ้วนตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น

ฉะนั้นวันนี้เราจึงอยากนำคุณมารู้จักถึงประโยชน์ของ “โปรตีน” ไปพร้อมกับ “กรดอะมิโน” ที่ผู้สูงอายุควรได้รับ

“โปรตีน” และ “กรดอะมิโน” มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีโปรตีนเข้าไป ระบบย่อยอาหารของเราก็จะย่อยสารอาหารโปรตีนให้เป็นหน่วยเล็ก ๆ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “กรดอะมิโน” เพื่อให้ร่ายกายสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดแล้วนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ซึ่งมีมากถึง 20 ชนิด โดยแบ่งเป็น กรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acids) 9 ชนิดที่ได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น และ กรดอะมิโนไม่จำเป็น ซึ่งเป็นชนิดอื่น ๆ ที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้

การได้รับ กรดอะมิโนจำเป็น จากอาหาร จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อผู้สูงอายุ
เราสามารถพบสารอาหารที่จำเป็นเหล่านี้ได้จาก เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วเหลือง ที่ผ่านการย่อยโปรตีนแล้ว จากนั้นจึงสามารถนำไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างกรดอะมิโนจำเป็นที่ผู้สูงอายุควรได้รับ ได้แก่

  1. ทริปโตเฟน (Tryptophan) เป็นสารตั้งต้นในการสร้างเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ควบคุมภาวะทางอารมณ์ให้สมดุลไม่เครียด ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
  2. ทรีโอนีน (Threonine) ช่วยสร้างโปรตีนสำคัญอย่างคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งเป็นองค์ประกอบในผิวหนังและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue) จำเป็นต่อสุขภาพผิวและฟันที่แข็งแรง อีกทั้งช่วยในการเผาผลาญไขมัน สร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดี และช่วยให้เลือดแข็งตัว ป้องกันเลือดออกผิดปกติ
  3. ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) จำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาทในสมองหลายชนิด เช่น โดพามีน (Dopamine) นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และอิพิเนฟริน (Epinephrine) รวมถึงมีส่วนสำคัญในโครงสร้างของโปรตีน และประโยชน์เด่น ๆ คือ ช่วยเสริมความจำ
  4. ไลซีน (Lysine) มีส่วนช่วยสร้างพลังงาน ฮอร์โมน คอลลาเจน และอีลาสติน รวมทั้งช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน การดูดซึมของแคลเซียม และเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

ทั้งนี้การจะดูแลให้ร่างกายของผู้สูงอายุกลับมาสุขภาพดี ควรรับประทานอาหารที่เป็นจำพวกโปรตีนที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจากพืช หรือสัตว์ที่เป็นมิตรต่อระบบการย่อย ก็สามารถปรับให้ร่างกายกลับมาสมดุลสุขภาพแข็งแรง ด้วยความปรารถนาดีจาก พาราไดม์ ฟาร์มา

อ้างอิงข้อมูลจาก
https://bit.ly/3Txtchc
https://bit.ly/3CMsCFd
https://bit.ly/3VDNCa7
https://bit.ly/3yQPoe5

Paradigm istore

สวัสดี ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ Paradigm istore กรุณาคลิกปุ่มด้านล่างเพื่อแชทฉันผ่าน Messenger

Powered by WpChatPlugins
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อทำให้ประสบการณ์ของคุณดีขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งใหม่ของ e-Privacy เราจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณในการตั้งค่าคุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติม

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึก