โพรไบโอติกที่ใช่! ช่วยแก้ไข ‘ปัญหาท้องผูก’ ควรเลือกรับประทานอย่างไร

โพรไบโอติกที่ใช่! ช่วยแก้ไข ‘ปัญหาท้องผูก’

ปัญหาท้องผูก นับเป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้าม เมื่อต้องเจอกับการถ่ายท้องที่ยากและต้องใช้เวลานาน แล้วอุจจาระก็มีลักษณะแข็งมาก รวมถึงหลังจากถ่ายเสร็จแล้วยังปวดท้องและมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมด หรือประสบปัญหาถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราอาจพบได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสุดอย่าง คนวัยทำงาน และผู้สูงอายุ ที่มักเกิดจากพฤติกรรมการกิน หรือสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการรับประทานทาน โพรไบโอติก หรือจุลินทรีย์ดีเพื่อปรับสมดุล แต่ด้วยความหลากหลายสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ วันนี้เราจึงจะพาคุณมาทำความรู้จักให้มากขึ้นเพื่อหาว่าจุลินทรีย์ที่ดีตัวไหนที่เหมาะกับลำไส้ของคุณ

Probiotic คืออะไร?
ข้อมูลจากสำนักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข คำว่า Probiotic มาจากภาษากรีกของคำว่า pro และ biotos ซึ่งหมายถึงรวม ๆ กันได้ว่า เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่นำมาใช้เพื่อส่งเสริมชีวิตและสุขภาพ ซึ่งจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อได้รับในปริมาณที่เหมาะสมจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ปัจจุบันมีจุลินทรีย์หลายชนิดที่มีคุณสมบัติที่ดี

Probiotic ที่ดีต้องเป็นอย่างไร?
จากความรู้เบื้องต้นของคนส่วนใหญ่จะรู้กันดีว่า นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต เป็นแหล่งสารอาหารชั้นดีอย่างจุลินทรีย์ดีและมีประโยชน์ ที่ในท้องตลาดมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อตามความชอบ แต่ข้อสังเกตที่เราไม่ควรมองข้ามเลยคือฉลากที่ติดอยู่ข้างขวด เราอยากให้คุณหันมาใส่ใจกับสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่ควรมี อาทิ บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium), บิฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010), แล็คโตแบซิลลัส เคซิไอ (Lactobacillus casei) และ แล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) ซึ่งทั้ง 4 ตัวนี้ให้ประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้จุลินทรีย์ดีจะทำงานได้ดีขึ้นหากอยู่ในอุณหภูมิ การเก็บรักษา ปริมาณของกรดในกระเพาะที่เหมาะสม ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการส่งเสริมให้จุลินทรีย์ดีพวกนี้จะมีประสิทธิภาพที่ดีงามต่อร่างกาย แต่การรับประทานทั้งหมดเข้าไปก็อาจไม่ได้ส่งผลดีกับร่างกายทุกคน ฉะนั้นการคัดสรรและสรรหาโพรไบโอติกที่ใช่จึงเป็นอีกสิ่งที่ต้องใส่ใจ

การเลือกโพรไบโอติกที่ใช่!
หากเราเจอผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโพรไบโอติก รศ.เภสัชกรหญิง วิมล ศรีศุข – คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำว่าให้ลองกินติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์ โดยกินทุกวัน วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น หลังจาก 2 สัปดาห์แล้ว ให้สำรวจตัวเองว่าขับถ่ายดีหรือไม่ รู้สึกสบายท้องขึ้นหรือไม่ ถ้าคำตอบคือ ใช่! ก็ให้กินต่อไป (ไม่ต้องเปลี่ยนชนิดไปมา) แต่ถ้าไม่ดีขึ้นก็ลองเปลี่ยนไปกินชนิดใหม่ตามระยะเวลาเฝ้าสังเกต

Biofit Pearl โพรไบโอติกที่น่าสนใจ
อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เข้าตาด้วย ส่วนประกอบสำคัญใน 1 แคปซูล ได้แก่ Bifidobacterium longum (BB536) 2.5 พันล้าน ซีเอฟยู, Lactobacillus acidophilus NCFM® และ Lactobacillus gasseri LAC-343 0.5 พันล้าน ซีเอฟยู ที่ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ที่ดีในระบบขับถ่าย ทั้งฟื้นฟูสมดุลของจุลินทรีย์แบคทีเรียในลำไส้ ป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูก ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งยังช่วยในด้านภูมิแพ้และสุขภาพผิวที่ดีขึ้นอีกด้วย ด้วยความปรารถนาดีจาก พาราไดม์ ฟาร์มา

อ้างอิงข้อมูลจาก
https://bit.ly/3hpMMhx
https://bit.ly/3zXmc5B
https://bit.ly/3FX958k
https://bit.ly/3Ujn6Sh

Paradigm istore

สวัสดี ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ Paradigm istore กรุณาคลิกปุ่มด้านล่างเพื่อแชทฉันผ่าน Messenger

Powered by WpChatPlugins
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อทำให้ประสบการณ์ของคุณดีขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งใหม่ของ e-Privacy เราจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณในการตั้งค่าคุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติม

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึก