ปัญหา สุขภาพลำไส้ อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย ธรรมดา ๆ ที่หลายคนมักมองข้าม แต่สำหรับคนธาตุอ่อน ท้องเสียบ่อย และต้องเผชิญกับปัญหา สุขภาพลำไส้ บ่อย ๆ ซ้ำ ๆ รับประทานอะไรเข้าไปนิดหน่อย ก็มีอาการ ปวดท้อง ถ่ายท้อง จนต้องคอยมองหาห้องน้ำอยู่บ่อยครั้ง คงเป็นเรื่องน่าปวดหัวไม่ใช่น้อย
ดังนั้น การจะเลือกรับประทานอะไรเข้าไป คงต้องคิดหนักกันหน่อย โดยเฉพาะกับ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม หรือ อาหารที่มี โพรไบโอติก จุลินทรีย์ชนิดดี ที่ขึ้นชื่อว่า เป็นตัวช่วยเรื่องการขับถ่าย ก็อาจสร้างความสับสนได้ว่า การรับประทาน โพรไบโอติก สำหรับคนที่ ท้องเสียบ่อย จะช่วย หรือ เสี่ยง กันแน่ ซึ่งบทความนี้มีคำตอบให้คุณแล้ว
โพรไบโอติก คืออะไร? มีประโยชน์ยังไง?
โพรไบโอติก (Probiotic) เป็น จุลินทรีย์ชนิดดี หรือ สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในส่วนของระบบทางเดินอาหาร หรือ ลำไส้
โพรไบโอติก มีบทบาทสำคัญ ในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ผลิตสารต่อต้าน หรือ กำจัดจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี ไม่ให้มีมากเกินไป และลดโอกาสที่จะเกิดการอักเสบติดเชื้อจากจุลินทรีย์ไม่ดี จนกลายเป็นปัญหาสุขภาพต่าง ๆ
ทั้งปัญหาด้าน สุขภาพลำไส้ เช่น ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย เป็นต้น และ ปัญหาด้าน สุขภาพทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด ภูมิแพ้ เป็นต้น
ท้องเสียบ่อย รับประทาน โพรไบโอติก ได้ไหม?
การรับประทาน โพรไบโอติก เป็น การเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีเข้าสู่ร่ายกาย ซึ่งจะช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในระบบทางเดินอาหาร หรือ ลำไส้ ในระยะยาว และจำเป็นจะต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ และ มีระบบขับถ่ายที่ดี
ดังนั้น การรับประทาน โพรไบโอติก จึงไม่ใช่เรื่องที่เสี่ยงต่อคนที่ ท้องเสียบ่อย แต่กลับช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการ ท้องเสีย ได้ในระยะยาว
โพรไบโอติก กินตอนไหน? กินทุกวัน ได้ไหม?
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า โพรไบโอติก เป็น จุลินทรีย์ที่ดีและมีประโยชน์ ช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ แต่การรักษาสมดุลของจุลิทรีย์ในลำไส้ให้คงอยู่เสมอนั้น อาจไม่ใช่เรื่องง่าย
เนื่องจาก โพรไบโอติก หรือ จุลินทรีย์ดี เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเปราะบาง และ ยังมีปัจจัยมากมายที่มีส่วนทำให้ ปริมาณจุลินทรีย์ดีในลำไส้ลดลง เช่น การใช้ชีวิต ความเครียด การนอนดึก รูปแบบการรับประทานอาหาร รวมไปถึงสภาวะภายในระบบทางเดินอาหารอย่าง กรดในกระเพาะอาหาร และ กรดน้ำดี เป็นต้น
การรับประทาน โพรไบโอติก ควรรับประทานในช่วงเวลา ท้องว่าง ซึ่งจะแนะนำเป็นช่วงเวลา ก่อนนอน หรือ หลังตื่นนอนตอนเช้า เพราะช่วงเวลาท้องว่างสะดวกและจดจำได้ง่าย และควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน โพรไบโอติก ในช่วงหลังอาหารทันที เนื่องจากเป็นช่วงที่กรดในกระเพาะอาหารหลั่งมาก และ อาจส่งผลให้ โพรไบโอติก ถูกทำลายมากกว่าการรับประทาน โพรไบโอติก ในช่วงเวลาอื่น ๆ
สิ่งที่สำคัญมากสำหรับการรับประทาน โพรไบโอติก คือ ควรรับประทานเป็นประจำทุกวัน ต่อเนื่องอย่างน้อย 2 – 4 สัปดาห์ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีของ สุขภาพลำไส้
ดังนั้น การมองหา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เพื่อเพิ่มปริมาณ โพรไบโอติก หรือ จุลินทรีย์ดี ก็อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี ที่จะช่วยให้ร่างกายสามารถคงสภาพความสมดุลของจุลินทรีย์เอาไว้ได้อยู่เสมอ และ ปัญหา สุขภาพลำไส้ หรือ อาการ ท้องเสียบ่อย ก็จะไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอีกต่อไป
ข้อควรระวัง! ในการเลือกรับประทาน โพรไบโอติก
- ควรเลือก ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โพรไบโอติก ที่มีความน่าเชื่อถือ มีการขึ้นทะเบียนกับ อย. ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน มีการระบุยี่ห้อ ส่วนประกอบ ปริมาณ วันผลิต วันหมดอายุ ผู้ผลิต และ ผู้จัดจำหน่าย อย่างชัดเจน
- ผู้ที่มีอาการ ท้องเสียรุนแรง เช่น มีเลือดในอุจจาระ มีไข้สูง ควรปรึกษาแพทย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทาน
- ผู้ที่มีภาวะ ภูมิคุ้มกันต่ำ ควรระมัดระวัง ในการรับประทาน โพรไบโอติก เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงได้ในบางกรณี ควรปรึกษาแพทย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทาน
บทสรุป
หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หวังว่าผู้อ่านจะได้คำตอบ และ ไขข้อสงสัย เกี่ยวกับการรับประทาน โพรไบโอติก และอาการ ท้องเสียบ่อย กันนะคะ
และสำหรับผู้ที่ต้องการเสริม โพรไบโอติก แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นจาก โพรไบโอติก ยี่ห้อไหนดี สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ 3 โพรไบโอติก ยี่ห้อไหนดี ที่เหมาะกับร่างกายคุณ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือก โพรไบโอติก สายพันธุ์ที่ใช่ ในรูปแบบที่ชอบ ค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง
- American Family Physician: Probiotics for Gastrointestinal Conditions: A Summary of the Evidence
- Medicalnewstoday : Probiotics for diarrhea: Do they help?
- โรงพยาบาลสมิติเวช: ‘โพรไบโอติกส์’ เสริมภูมิคุ้มกัน แนะนำอาหารโพรไบโอติกสูงที่ควรทาน